สถานการณ์การผลิตและการบริโภคเหล็กและเหล็กกล้าของไทยในไตรมาสที่ 1/2566 – VS Steel 1999

สถานการณ์การผลิตและการบริโภคเหล็กและเหล็กกล้าของไทยในไตรมาสที่ 1/2566

สถานการณ์การผลิตและการบริโภคเหล็กและเหล็กกล้าของไทยในไตรมาสที่ 1/2566

          อ้างถึงข้อมูลจากกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ว่าในไตรมาสที่ 1/2566 สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของไทย หดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เหล็กและเหล็กกล้า

  • ภาคการผลิตในไตรมาส 1/2566 หดตัวลง 8.9% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.6% เทียบกับไตรมาสที่ 4/2565
    • เหล็กทรงแบนหดตัวลดลง 14% เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
      • เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกลดลง 33.6%
      • เหล็กแผ่นรีดเย็นลดลง 22.6%
      • เหล็กแผ่นรีดร้อนลดลง 12.3%
    • เหล็กทรงยาวหดตัวลดลง 12.4% เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
      • ลวดเหล็กลดลง 31.9%
      • เหล็กเส้นกลมลดลง 27.1%
      • เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดเย็นลดลง 21.2%
    • ภาคการบริโภคในประเทศไตรมาสที่ 1/2566 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.5% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 21.6% จากไตรมาสที่ผ่านมา

2.1     เหล็กทรงแบนขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.9%

          2.1.1 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีลดลง 19%

          2.1.2 เหล็กแผ่นบางรีดร้อนเพิ่มขึ้น 16.6%

          2.1.3 เหล็กแผ่นเคลือบประเภทอื่นๆเพิ่มขึ้น 16.3%

2.2 เหล็กทรงยาวขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.8% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

            2.2.1 เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เพิ่มขึ้น 28.8%

3) ภาคการนำเข้าเหล็กของไทยในไตรมาส 1/2566 มูลค่า USD 3.1 พันล้าน ลดลง 1.6% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 16.8% จากไตรมาสที่ผ่านมา

            3.1 การนำเข้าเหล็กทรงแบนลดลง 1.6%

                   3.1.1 เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยมลดลงมากที่สุด 45.6% (นำเข้าจากจีน, เกาหลีใต้, เยอรมัน)

                   3.1.2 เหล็กแผ่นบางรีดร้อนลดลง 38.4%

                   3.1.3 เหล็กแผ่นหนาประเภท Alloy Steel ลดลง 32.8%

                   3.1.4 เหล็กแผ่นบางรีดเย็นลดลง 22.8%

          3.2 การนำเข้าเหล็กทรงยาวลดลง 1.7%

3.2.1 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณประเภทสแตนเลสลดลงมากที่สุด 78.2% (นำเข้าจากอินเดีย,

ญี่ปุ่น, จีน)

                   3.2.2 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณประเภท Alloy Steel ลดลง 55.9%

                   3.2.3 เหล็กลวดสแตนเลสลดลง 35.6%

                   3.2.4 เหล็กเพลาขาวลดลง 22.2%

แนวโน้มในไตรมาสที่ 2/2566 คาดการณ์ว่าจะหดตัวลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเนื่องมาจากปัจจัยการชอลตัวของเศรษฐกิจโลก, ความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองภายในประเทศ, ความผันผวนทางด้านราคาพลังงานและอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ, สงครามรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อยังหาข้อสรุปไม่ได้